เตือนภัย สแกมเมอร์ มามุกใหม่ หลอกสาวให้รักนับเดือน สูญกว่า 5 แสน

‘พังฟ้าใส’ สัตว์แพทย์ เผย เตรียมผ่าชันสูตรซาก ก่อนทำพิธีสงฆ์

เตือนภัย สแกมเมอร์ มามุกใหม่ รูปแบบโรแมนซ์สแกม หลอกสาวให้รักนับเดือน ก่อนจะรู้ตัวผู้เสียหายก็สูญเงินไปกว่า 5 แสน วันที่ 28 ธ.ค.64 ข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 3436637 ได้แชร์ประสบการณ์ “หนึ่งเดือนกับการหลงรัก scammer และเงินห้าแสนที่ปลิวไป” โดยเรื่องเกิดจาก หลงคุยกับสแกมเมอร์นับเดือน ในรูปแบบที่แนบเนียนกว่าเดิม แต่สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการสูญเงินเหมือนเดิม

โดยรูปแบบของ โรแมนซ์สแกม (Romance Scam) หรือ การหลอกให้หลงรัก หลอกให้เชื่อว่ารัก 

หลอกให้เชื่อใจ มาในแบบ เป็นลูกครึ่ง ลูกเจ้าของร้านอาหารที่ ประเทศสิงคโปร์ ต้องดูแลร้านอาหาร และลงทุนในกองทุนต่างๆ เป็นงานเสริม ซึ่งสาวคนนี้ เล่าว่ คุยกันเหมือนปกติ ไม่มีการชวนลงทุนอะไร มีงอน มีใส่ใจในรายละเอียด เหมือนคนคบกันทั่วไป

สแกมเมอร์แสบมีการปูเรื่องราวการลงทุนในบิทคอย หรือกองทุนต่างๆ เหมือนคนลงทุนปกติ พูดจาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ลงทุนกัน โดยทั้งสองเริ่มคุยกันเรื่องอนาคต ในการขอคบเป็นแฟน จะบินไปหากันที่ประเทศสิงคโปร์ และสุดท้ายคือก่อนที่ความจริงจะเฉลย ได้ส่งลิงค์มาชวนให้ลงทุน โดยอ้างว่า เป็นการเชิญพิเศษจากพี่ชาย เมื่อลงทุนในเหรียญไป สาวรายนี้ ระบุว่า เริ่มต้นที่ 1 แสนบาท สามารถเบิกกำไรคืนมาได้ตามปกติ ก่อนที่จะลงทุนเพิ่มเป็น 5 แสน แล้วสูญเงิน ก่อนที่จะรู้ความจริงว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องหลอกลวง และเป็นเพียง โรแมนซ์สแกม รูปแบบใหม่เท่านั้น

สาวผู้เคราะห์ร้าย ยังบอกด้วยว่า ภัยสแกมเมอร์นี้มีจุดสังเกตมากมาย แต่เธอเหมือนจะมองข้ามไป และเมื่อมาเช็กทุกอย่างทีหลังก็สายไปเสียแล้ว จึงนำเรื่องดังกล่าวมาเตือนใจ ไม่ให้ใครต้องตกเป็นเหยื่อกลุ่มคนพวกนี้อีก

หมอยง เตือน ยอดผู้ป่วยโควิดโอมิครอนเพิ่มขึ้นหลังปีใหม่ ยืนยัน โควิดระลอก 5 มาแน่ หากไม่ช่วยกัน ชี้โควิดโอมิครอนติดง่ายกว่าเดลต้า

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาแสดงความเห็นถึงโควิดสายพันธุ์โอมิครอน และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย

โดย หมอยง ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศ มีการระบาดรวม 4 ระลอกแล้ว ปี 2564 

เจอทั้งสายพันธุ์จี , อัลฟา, เดลตา และสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดโอมิครอน จากรายงานของ GISAID พบว่าจำนวนรหัสพันธุกรรมของโอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เชื่อว่าไม่เกิน 1-2 เดือน โควิดสายพันธุ์โอมิครอน จะเข้ามาแทนที่เดลตาแน่นอน เพราะติดต่อได้ง่ายกว่าเดลตา เดิมโอมิครอนมีจุดกำเนิดที่แอฟริกา แต่ตอนนี้กระจายไปครึ่งโลก เนื่องจากยุโรปและอเมริกาเป็นแหล่งกระจายโรคได้ดี

และเมื่อตรวจดูสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน ที่มีถึง 3 สายพันธุ์ BA1,BA2 และBA3 พบว่าการระบาดขณะนี้ยังเป็นโอมิครอน BA1 โดยที่ศูนย์เชี่ยวชาญฯ ได้มีการตรวจวินิจฉัยโอมิครอน จากตัวอย่างที่ถูกส่งตรวจ 96 คน พบเป็นโอมิครอน 40-50 คน แสดงว่าเชื้อโอมิครอนแพร่ได้รวดเร็ว ซึ่งการระบาดในระลอกที่ 3 และ 4 แทบแยกจากกันไม่ออก แต่เชื่อว่าหลังปีใหม่ 2565 จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดในระลอก 5 ขึ้นแน่ หากเราไม่ช่วยกัน

ส่วนการตรวจหาเชื้อโอมิครอนใช้การถอดรหัสพันธุกรรมและเทคนิคการตรวจที่รวดเร็วภายใน 4 ชั่วโมง เตรียมถ่ายวิธีการตรวจให้กับสถานพยาบาลอื่น ซึ่งการตรวจเทคนิคนี้ด้วย RT-PCR ทราบผลใน 4 ชั่วโมง พร้อมสาเหตุที่โอมิครอนหลุดออกจากระบบ Test&Go (T&G) นั้น ถือว่ามีมากกว่าระบบอื่น

โดยยกตัวอย่างกรณีสามีชาวฝรั่งเศสและภรรยาที่เป็นช่างเสริมสวยเดินทางเข้าไทย ตรวจต้นทาง RT-PCR ไม่พบ ตรวจเมื่อเข้าไทยซ้ำ RT-PCR 24 ชั่วโมงก็ไม่พบ หลังไม่พบไปจิบไวน์กับเพื่อนที่บาร์ 11 คน จากนั้นไม่นานมี 1คน

ไม่สบายนอนโรงพยาบาล ตรวจพบโอมิครอน สันนิษฐานติดจากสามีภรรยา และจากนั้นเพื่อนทั้งหมดก็ติดโอมิครอน เชื่อว่า สามีภรรยานี้ติดเชื้อมาจากฝรั่งเศส เช่นเดียวกับเคส ครอบครัว 1 ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ลูกสาวติดโอมิครอน กักตัว แต่พ่อแม่และน้องชายไม่ติด ไม่กักตัว แต่เชื่ออีก 2-3 วันก็ติด ซึ่งในช่วงเวลานั้นทั้ง 3 คนก็ไปทำกิจกรรมอื่นก็เท่ากับมีการแพร่เชื้อในสังคม จะเห็นว่าขบวนการ T&G ไม่สามารถป้องกันโอมิครอนได้เลย

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ส่วนเคสมีข้าราชการระดับสูง มีไปประชุมร่วมหลายที่ ป่วยนอนแอดมิตที่ รพ.เอกชน ตรวจพบเชื้อโอมิครอน ลองนึกภาพว่าการทำงานต้องเดินทางไปไหนเยอะแยะ ติดต่อผู้คนมากมาย แสดงให้เห็นว่าเชื้อติดง่ายมากจากสายพันธุ์อู่ฮั่น 10 คน กินเหล้าร่วมกันติด 2-3 คน มาเป็นสายพันธุ์เดลตา 10 คน ติดเชื้อ 6-7 คน และโอมิครอน 10 คน ติดทั้ง 10 คน

และเชื้อไอมิครอนหลบภูมิคุ้มกันได้ คนที่ติดโอมิครอนส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม และไม่ว่าจะยี่ห้อไหน ชนิดไหน แต่อัตราการรักษาใน รพ.ต่ำกว่าเดลตา แสดงว่ารุนแรงน้อยกว่า แต่ไม่สามารถระบุได้ชัดว่า ที่โรคมีความรุนแรงน้อยลง เพราะเชื้อหรือเพราะคนรับวัคซีน แต่ที่แน่นอนเชื้อไวรัสไอมbครอน ชอบเยื่อบุคอมากกว่าปอด

Credit : laweducation.info cainlawoffice.net westerncawx.net qatarawy.net nawraas.net