ยกเว้นภาษีเงินได้ – วานนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีการพิจารณาหนึ่งในวาระว่าด้วย ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พ้นโทษเข้าทำงาน)คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังและกระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
โดยสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกามีดังนี้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า “ผู้พ้นโทษ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาด ซึ่งมีสัญชาติไทยที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ เนื่องจากครบกำหนดโทษตามหมายศาล ลดวันต้องโทษจำคุก หรือพักการลงโทษ
2. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรับผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวเข้าทำงาน สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษเฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
3. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ตั้งแต่เดือนที่รับผู้พ้นโทษเข้าทำงานจนถึงเดือนสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
4. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากการจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เนื่องจากรายจ่ายในการจ้างงานบุคคลดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาอื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรอีกไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
การเติบโต (Growth)
Dot Property เติบโตจนกลายเป็นผู้เล่นอันดับที่ 2 ในตลาด โดยมี 2 แบรนด์คือ Thailand Property และ Dot Property สำหรับภาษาอังกฤษ และภาษาไทย เเละมีผู้ใช้งานจำนวนมากระหว่าง 2 เเพลตฟอร์ม
ภาษาไทยและอังกฤษ (Strong EN/TH) – DotProperty และ Thailand Property มีความเเข็งเเกร่งในตลาด 2 ภาษา คือ ไทยเเละอังกฤษ
x ธุรกิจทับซ้อนกับลูกค้า (Conflict) – DotProperty เป็นเว็บไซต์อสังหาฯ ซึ่งให้บริการนายหน้าแต่ในขณะเดียวกันยังเป็นเจ้าของบริษัทนายหน้าอสังหาฯ อย่าง Homes Thailand ซึ่งขายอสังหาฯ ในประเทศไทยด้วย จึงอาจมองได้ว่าทั้งให้บริการและเเข่งขันชิงลูกค้ากับบริษัทนายหน้าในเวลาเดียวกัน
x คุณภาพ vs ปริมาณ (Quality vs Quantity) – lead (ผู้ที่มีเเนวโน้มเป็นลูกค้า) ที่นายหน้าได้จาก Dot Property จะเน้นที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ นอกจากนี้เมื่อผู้ใช้งานเว็บไซต์ลงชื่อเข้าใช้เเพลตฟอร์ม Dot Property จะติดตามพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์และส่งต่อ lead ให้กับบริษัทนายหน้าโดยที่ลูกค้าอาจไม่ได้ร้องขอ ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจที่ต้องระมัดระวังในยุคที่ประชาชนและประเทศต่างๆ กังวลในเรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนตัว
x เน้นบริการนายหน้า (Agent Focused) – DotProperty คล้ายเเพลตฟอร์มอื่น ๆ คือต้องการให้บริการนายหน้าอสังหาฯ ไม่ใช่ผู้ซื้อหรือเช่าอสังหาฯ รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
คะแนนรวม 7/10 – DotProperty มีกลยุทธ์การเติบโตที่ยอดเยี่ยม นอกจากนี้การที่ Litfull บริษัทอสังหาฯ ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเข้าซื้อบริษัท Trovit และ Mitula ซึ่งเป็นเจ้าของ DotProperty นี่เป็นเเรงส่งให้กับ DotProperty และ Thailand Property อย่างมาก ข้อเสียคือความขัดเเย้งทางผลประโยชน์จาก Homes Thailand ซึ่งนายหน้าหลายคนอาจไม่ทราบ
ความโปร่งใส (Transparency) – FazWaz ใช้ AI ในการจัดอันดับประกาศอสังหาฯ บนเว็บไซต์โดยเเสดงอสังหาฯ ที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อเเละผู้เช่ามากที่สุด
คุณภาพ lead (Quality) – FazWaz มีทีมที่ตรวจสอบคุณภาพ lead ของลูกค้า ก่อนจะส่ง lead ที่คิดว่ามีคุณภาพสูงไปยังเจ้าของบ้าน เจ้าของโครงการ หรือนายหน้า จึงทำให้ทุกฝ่ายมีประสบการณ์การใช้งานที่ดี
นวัตกรรม (Innovation) – Fazwaz เน้นนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกผู้ซื้อ ผู้ขาย นายหน้า และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยเครื่องมือที่ช่วยในการตั้งราคาให้เหมาะสมสภาพตลาด (dynamic pricing) รวมถึงมีเเผนที่จะเปิดตัวเเพลตฟอร์มเพื่อช่วยในการต่อรองราคา และบริการอื่น ๆ ในอนาคต
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป